(งบดุล)
งบดุล หรืองบแสดงฐานะทางการเงิน บ่งบอกถึงฐานะและความมั่นคงของกิจการบริษัทนั้นๆ บ่งบอกถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
1. สินทรัพย์ คือ สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งเกิดจากการประกอบการ และสามารถแสดงเป็นตัวเงิน สามารถที่จะให้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งแบ่งออกเป็น
- สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ที่สามรารถชำระภายในรอบระยะเวลาบัญชี สินค้าคงเหลือ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอื่นๆ เช่นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีหรือ 1รอบระยะบัญชีของกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก และมีความถาวร เช่น อาคาร ที่ดิน รวมไปถึงเงินลงทุนในบริษัทอื่นๆ ที่ลงทุนในระยะยาว
2. หนี้สิน คือ พันธะผูกพันที่บุคคลภายนอกได้แก่เจ้าหนี้มีต่อกิจการอันเกิดจากรายการทาง ธุรกิจ การกู้ยืมหรือจากเหตุการณ์อื่นๆ ที่จะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ ตัวอย่างของหนี้สินของหนี้สิน เช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ ตั๋วเงินจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- หนี้สินหมุนเวียน คือ พันธะผูกพันที่ต้องมีการจ่ายชำระคืนแก่เจ้าหนี้ไม่เกิน 1 ปี หรือในรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่นเจ้าหนี้ทางการค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
- หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระมากกว่า 1 ปี หรือเกินกว่าระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่น หุ้นกู้ เงินกู้ระยะยาว
3. ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ สิทธิเรียกร้องหรือส่วนได้เสียที่เจ้าของมีอยู่เหนือสินทรัพย์ หลังจากได้หักสิทธิเรียกร้องที่เป็นของเจ้าหนี้ออกไปแล้ว หรือกล่าวได้ว่าคือสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนที่สินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน (สินทรัพย์ – หนี้สิน = ส่วนของผู้ถือหุ้น)
(งบกำไรขาดทุน)
งบ
กำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในงวดระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ
ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือไตรมาส งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย
รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆ ซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงิน และยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้า ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1) รายได้โดยตรง เป็นรายได้ที่สัมพันธ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ของกิจการ
1.2) รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้โดยตรง เช่น เกิดจากการขายสินทรัพย์ออกไป หรือรายได้จากเงินปันผลของบริษัทที่ไปร่วมลงทุนด้วย
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน คือ ต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ใช้ในการดำเนินกาของธุรกิจด้วย
3) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนที่เกิดจากรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย ในระยะรอบบัญชีนั้นๆ
(รายได้ – รายจ่าย = กำไร หรือ ขาดทุน)
1) ยอดขายหรือรายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆ ซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงิน และยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้า ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1) รายได้โดยตรง เป็นรายได้ที่สัมพันธ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ของกิจการ
1.2) รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้โดยตรง เช่น เกิดจากการขายสินทรัพย์ออกไป หรือรายได้จากเงินปันผลของบริษัทที่ไปร่วมลงทุนด้วย
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน คือ ต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ใช้ในการดำเนินกาของธุรกิจด้วย
3) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนที่เกิดจากรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย ในระยะรอบบัญชีนั้นๆ
(รายได้ – รายจ่าย = กำไร หรือ ขาดทุน)
(งบกระแสเงินสด)
งบ
กระแสเงินสด
หมายถึงงบการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ
กิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
งบกระแสเงินสดจะแสดงเงินสดที่ได้รับและจ่ายออกไปที่เกิดขึ้นตาม 3 กิจกรรม
คือ
1. กิจกรรมการดำเนินงาน หมายถึง กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากการดำเนินงานหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ ของกิจการและกิจกรรมอื่น ที่ไม่ใช่กิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมการจัดหาเงิน
2. กิจกรรมการลงทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นๆของ กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรือ อุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์
3. กิจกรรมการจัดหาเงิน หมายถึง กระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนของเจ้าของ หรือการกู้ยืมเงิน และกระแสเงินสดที่จ่ายชำระหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน หรือเงินปันผล
1. กิจกรรมการดำเนินงาน หมายถึง กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากการดำเนินงานหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ ของกิจการและกิจกรรมอื่น ที่ไม่ใช่กิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมการจัดหาเงิน
2. กิจกรรมการลงทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นๆของ กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรือ อุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์
3. กิจกรรมการจัดหาเงิน หมายถึง กระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนของเจ้าของ หรือการกู้ยืมเงิน และกระแสเงินสดที่จ่ายชำระหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน หรือเงินปันผล
No comments:
Post a Comment