Sunday, September 29, 2013
คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น
ประโยคนี้ ในมุมมองของผม ผมมองว่ามันไม่ใช่ประโยคที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่ผมเริ่มเข้ามาเล่นหุ้นแล้วครับ
ข้อแรก ผมเริ่มเล่นหุ้นด้วยเงินหลักหมื่นต้นๆ และกว่าจะได้เงินก้อนนี้มา
ผมก็เริ่มต้นจากศูนย์ ต้องทำงานเก็บเงินเลือดตาแทบกระเด็น เป็นการบ่งบอกว่าผมนี่แหล่ะครับ
“คนจนเล่นหุ้น”
ข้องสอง เท่าที่ผมเจอมา คนที่รวยกว่าผม
ไม่ว่าจะมีเงินแสน เงินล้าน สิบล้าน .........หลายๆคนก็เล่นหวย เล่นพนันบอลกันเยอะแยะ ข้อนี้ก็ยืนยันว่า “คนรวยก็เล่นหวย” ครับ
แต่ประเด็นที่ผมอยากจะบอกจริงๆก็คือ
อย่ายึดติดกับคำพูดหรือประโยคอะไรแบบนี้ แล้วนำเอาไปคิด เอาไปตีกรอบตัวเองว่า “เอ้ย!!เรามันจนนี่หว่า
งั้นก็ต้องเล่นหวยสิ เราจะไปเล่นหุ้นได้ยังไงกัน
อันนั้นมันสำหรับคนมีการศึกษาสูงๆ คนรวยๆมีเงินเยอะๆเค้าเล่นกัน” แบบนี้เป็นวิธีคิดที่ไม่ดีเลยนะครับ
ลองดูหลายๆคนเป็นตัวอย่าง จะเห็นว่ามีมากมายที่เริ่มต้นเข้าสู่วงการลงทุน
ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง
เริ่มต้นจากศูนย์หรือบางคนก็เริ่มจากติดลบด้วยซ้ำ
คนเหล่านี้ก็ค่อยๆสร้างตัวขึ้นมา และก็มีคนก็ประสบความสำเร็จไปมากมายแล้ว
การที่คุณจะทำอะไร "ได้" หรือ "ไม่ได้" นั้น อย่าดึง “เงิน” เข้ามาเป็นปัจจัยแรก
เพราะนั่นจะเป็นตัวตีกรอบความคิดที่อันตรายมากที่สุด ให้คุณดึงความมุ่งมั่น
ความตั้งใจที่จะเรียนรู้และศึกษา ความพยายาม ขยันและอดทน ออกมาเป็นตัวตั้ง ออกมาเป็นพลัง
ว่าคุณเองก็สามารถทำได้เหมือนกัน ไม่ใช่แค่กับการลงทุนอย่างเดียวนะ มันใช้ได้กับทุกอย่าง
อย่ายอมแพ้อะไรง่ายๆ อย่าคิดอะไรตื้นๆกับแค่เรื่องของ “เงิน” นะครับ
หนทางสู่ความสำเร็จ มีมากว่าแค่ "จำนวนเงิน" ลองคิดดูดีๆ
....ขอให้สู้กันต่อไป
- บ้าหุ้น -
มุมมองธรรมะ VS ประสบการณ์จริง
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม(ของผม) ที่เข้ามาสู่วงการลงทุนในตลาดหุ้นนั้น ผมสามารถหาคำตอบได้สิ่งหนึ่งก็คือ
"ธรรมะ" ทำให้ผมอยู่รอดในตลาดหุ้นมาจนถึงทุกวันนี้
มีคนเคยตลกกับคำพูดของผม ว่า ธรรมะกับการลงทุนมันขัดกัน เอามาใช้ด้วยกันจะไปรวยได้ยังไง ไม่เข้าใจ
สิ่งที่ผมสังเกตได้จากคำพูดนี้ ก็คือ ก็เพราะคุณยังไม่เข้าใจไงหล่ะ (ผมก็เคยไม่เข้าใจมาก่อนเหมือนกันเนี่ยแหล่ะ)
จริงๆแล้ว ถ้าใครที่ชอบหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาอ่าน
น่าจะเคยเห็นกูรูหรือนักลงทุนชื่อดัง
พูดถึงเรื่องของการลงทุนกับธรรมะมาบ้างแล้ว
และก็น่าจะพอเข้าใจความหมายของมันไม่มากก็น้อย แต่วันนี้
ผมจะเอาประสบการณ์ของจริงที่เกิดขึ้นกับผมมาแชร์ให้เห็นภาพอีกมุมหนึ่ง
เราลองมาดูกัน!!!
1. การขาดทุนครั้งที่เลวร้ายที่สุดของผม
เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวตั้งแต่เล่นหุ้นมา สาเหตุมาจาก "ความโลภ" ทั้งหมด
ด้วยความคิดที่ว่า "ได้ทีรวยเละเลย" แต่ไม่ได้คิดสวนทางกันว่า
แล้วถ้าเสียหล่ะ? เพราะตอนนั้นผมโดนกิเลสครอบงำแบบจริงจังมาก
ผมทุ่มเงินหมดหน้าตักเข้าซื้อหุ้นที่มีข่าววงในออกมาถึงหูผม
คาดว่าจะปั่นไปเท่านั้นเท่านี้
ผลลัพธ์ที่ได้คือ โดนจ้าวทุบเละครับ
สติแตก ทำอะไรไม่ถูกครับ ไปไม่เป็นเลยครับงานนี้ ช๊อค
กว่าจะตั้งสติได้อีกที เงินที่ผมพยายามต่อยอดจากการลงทุนมา 3-4 ปี
ก็หายไปกว่าครึ่งหนึ่งของมันเป็นที่เรียบร้อย
เป็นประสบการณ์ที่ราคาแพงมากสำหรับผม แต่มันก็ทำให้ผมเข้าใจว่า
การอยากรวยเร็วๆ ความโลภที่มี มันอันตรายจริงๆ และหากผมมีสติมากกว่านี้
มันคงจะช่วยให้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
2.
ช่วงที่ผมฝึกเทรดหุ้นด้วยวิธีแบบ technical
มันทำให้ผมเห็นความจริงอย่างนึงคือ ทุกครั้งที่เกิดความผิดพลาด
ไม่เป็นไปตามทฤษฎี ผมจำเป็นต้อง cut loss .....แต่ผมไม่ทำ!!! เพราะ
เข้าข้างตัวเอง ไม่ยอมรับความจริง คิดว่ามันน่าจะเด้งได้ สุดท้ายลงลึก เลยต้องขายขาดทุนกว่าเดิม
เหตุการณ์ครั้งนี้มันทำให้ผมเข้าใจว่า ธรรมชาติของหุ้นมันเป็นแบบนี้
ไม่มีอะไรถูกต้องตามทฤษฎี100% และเมื่อผิดทางแล้วก็ต้องรู้ว่าผิด ให้รีบแก้ไข
และการใช้อารมณ์เข้ามารบกวนระบบการเทรดที่มีวินัย มันก็เลยบรรลัยแบบนี้เอง
จริงๆหากเข้าใจธรรมะ ก็จะรู้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความกลัว ความโลภ มีกิเลสเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมดา และเป็นธรรมชาติ
ตลาดหุ้น รวมถึงการเล่นหุ้น
มันก็เป็นผลจากการกระทำที่ส่งต่อมาจากมนุษย์เรานี่เอง
ดังนั้นมันก็เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อมีคนฉลาด ก็ย่อมมีคนโง่ เมื่อมีคนกลัว
ก็ต้องมีคนกล้า เมื่อมีคนอยากซื้อ มันก็ย่อมมีคนอยากจะขาย
สุดท้ายมันก็ส่งผลให้ราคาขึ้นและลง ตาม demand and supply หรือปัจจัยเหล่านี้เป็นปกติธรรมดา
หากเข้าใจหลักธรรมชาติเบื้องต้นแบบนี้แล้ว ผมว่า คุณมีแววจะอยู่ในตลาดหุ้นได้ยาวนานและมั่นคงได้ไม่ยาก
- บ้าหุ้น -
การ STOP LOSS สำคัญมั๊ย?
หากเป้าหมายการมาเล่นหุ้นของทุก คนเหมือนๆกันคือ "ได้กำไร"
ดังนั้น ไม่ว่าจะเล่นสั่น เล่นยาว เทคนิค VI หุ้นปั่น วงใน ตามโบรค หรือเล่นมั่ว....
ก็ทำไปเถอะครับ มีเป็นร้อยล้านวิธี ตามสไตล์ที่ตัวเองชอบหรือถนัด
แต่........
อย่าได้ลืมเหตุผลสำคัญอีกข้อนึง ด้วยนะ คือ ระวัง "การขาดทุน"
ก็พูดกันไป พูดง่ายนะ ว่าต้องไม่ขาดทุน แต่ทำจริงมันยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกก!!!
เพราะความยากนี่แหล่ะ ถึงต้องมีเครื่องมือที่ใช้ "จำกัด"การขาดทุน
แม้จะไม่ได้ป้องกันขาดทุนได้100% แต่อย่างน้อย ทุนก็ไม่หายหมดหรือไม่เจ๊ง
เมื่อมีจุด STOP LOSS เราก็ยังสามารถเอาตัวรอดออกมาได้ เราจะยังคงมีทุนเหลือไว้แก้ตัวได้
ในค รั้งต่อๆไปอีกด้วย
และนี่คือเหตุผลของการต้องเรียน รู้วิธี "STOP LOSS" ไว้เป็นวิชาป้องกันตัว (สำคัญมากนะ จะบอกให้)
-บ้าหุ้น-
ดังนั้น ไม่ว่าจะเล่นสั่น เล่นยาว เทคนิค VI หุ้นปั่น วงใน ตามโบรค หรือเล่นมั่ว....
ก็ทำไปเถอะครับ มีเป็นร้อยล้านวิธี ตามสไตล์ที่ตัวเองชอบหรือถนัด
แต่........
อย่าได้ลืมเหตุผลสำคัญอีกข้อนึง
ก็พูดกันไป พูดง่ายนะ ว่าต้องไม่ขาดทุน แต่ทำจริงมันยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกก!!!
เพราะความยากนี่แหล่ะ ถึงต้องมีเครื่องมือที่ใช้ "จำกัด"การขาดทุน
แม้จะไม่ได้ป้องกันขาดทุนได้100% แต่อย่างน้อย ทุนก็ไม่หายหมดหรือไม่เจ๊ง
เมื่อมีจุด STOP LOSS เราก็ยังสามารถเอาตัวรอดออกมาได้ เราจะยังคงมีทุนเหลือไว้แก้ตัวได้
ในค
และนี่คือเหตุผลของการต้องเรียน
-บ้าหุ้น-
แนวคิดเบื้องต้นก่อนเริ่มลงทุน
หากถามถึง”วิธีคิด” ในการเลือกลงทุนหุ้น ว่าเริ่มต้นคิดอย่างไร
“สำหรับผม” ผมจะคิดถึงหลักปัจจัยที่มีเหตุและผลเป็นลำด ับขั้นตอน ดังนี้
1.เลือกปัจจัยหลักใหญ่ๆ หรือ MEGA TREND มาเป็นเหตุผลหลักในลำดับแรก
2.คำนึงหรือคาดการณ์ ถึงผลที่น่า จะเกิดขึ้นจากปัจจัยข้อแรก เพื่อ จะได้มองเห็นภาพได้ลึกขึ้นว่า
บร ิษัทไหนได้หรือเสียจากเหตุปัจจัยนั้นๆ
3.เมื่อเห็นภาพว่ามีบริษัทไหนที ่เข้าเกณฑ์บ้างแล้วก็ค่อยเจาะลึ กดูพื้นฐานบริษัท
4เริ่มแผนลงทุนด้วย”วิธีของตัวเอง”
ผมขอยกตัวอย่างสักอันให้เห็นภาพ ชัดขึ้น
ขอยกตัวอย่างจากปัจจัยที่เพิ่งจ ะผ่านมาไม่นานมากนักละกัน เช่น
ปัจจัยหรือเหตุ คือ "โครงการรถคันแรก" ส่วนผลที่น่าจะตามมาคือ คนซื้อรถง่ายและเยอะขึ้น รถติด คนใช้รถบนถนนมากขึ้น คนใช้เวลาอยู่บนถนนนานขึ้น หลังจากนั้นก็มาคิดว่าบริษัทอะไ รน่าจะเกี่ยวข้องบ้าง
ผมยกตัวอย่างว่า บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถน ่าจะได้ผลดี รถติดคนก็น่าจะใช้ทางด่วนมากขึ้ นหรือใช้ช่องทางอื่นเช่นรถไฟฟ้า มากขึ้นตามไปด้วย หรือเนื่องจากรถติดมากขึ้น คนก็จะใช้ชีวิตบนท้องถนนนานขึ้น พวกบริษัทป้ายโฆษณาตามท้องถนนก็ น่าจะได้ผลดีตามไปด้วย สุดท้ายพอคัดเลือกบริษัทจากความ น่าจะเป็นเหล่านี้มาได้ ก็นำมาดูความแข็งแกร่งของแต่ละบ ริษัท วิเคราะห์งบการเงิน การจ่ายปันผล ประวัติการเติบโตต่างๆอย่างละเอ ียด ถึงขั้นตอนสุดท้ายผมก็ค่อยมาดูก ันที่ราคาที่เหมาะสมและวางแผนลง ทุนด้วยวิธีการลงทุนที่ตัวเองถน ัด
และนี่ก็คือวิธีคร่าวๆที่น่าจะนำไปต่อยอดได้อีก แล้วพวกคุณหล่ะครับ วางแผนการลงทุนกันไว้แบบไหน?
-บ้าหุ้น-
“สำหรับผม” ผมจะคิดถึงหลักปัจจัยที่มีเหตุและผลเป็นลำด
1.เลือกปัจจัยหลักใหญ่ๆ หรือ MEGA TREND มาเป็นเหตุผลหลักในลำดับแรก
2.คำนึงหรือคาดการณ์ ถึงผลที่น่า
บร
3.เมื่อเห็นภาพว่ามีบริษัทไหนที
4เริ่มแผนลงทุนด้วย”วิธีของตัวเอง”
ผมขอยกตัวอย่างสักอันให้เห็นภาพ
ขอยกตัวอย่างจากปัจจัยที่เพิ่งจ
ปัจจัยหรือเหตุ คือ "โครงการรถคันแรก" ส่วนผลที่น่าจะตามมาคือ คนซื้อรถง่ายและเยอะขึ้น รถติด คนใช้รถบนถนนมากขึ้น คนใช้เวลาอยู่บนถนนนานขึ้น หลังจากนั้นก็มาคิดว่าบริษัทอะไ
ผมยกตัวอย่างว่า บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถน
และนี่ก็คือวิธีคร่าวๆที่น่าจะนำไปต่อยอดได้อีก แล้วพวกคุณหล่ะครับ วางแผนการลงทุนกันไว้แบบไหน?
-บ้าหุ้น-
ทำความรู้จักกับงบการเงินเบื้องต้น
(งบดุล)
งบดุล หรืองบแสดงฐานะทางการเงิน บ่งบอกถึงฐานะและความมั่นคงของกิจการบริษัทนั้นๆ บ่งบอกถึงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
1. สินทรัพย์ คือ สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งเกิดจากการประกอบการ และสามารถแสดงเป็นตัวเงิน สามารถที่จะให้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งแบ่งออกเป็น
- สินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือ1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ที่สามรารถชำระภายในรอบระยะเวลาบัญชี สินค้าคงเหลือ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอื่นๆ เช่นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีหรือ 1รอบระยะบัญชีของกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามาก และมีความถาวร เช่น อาคาร ที่ดิน รวมไปถึงเงินลงทุนในบริษัทอื่นๆ ที่ลงทุนในระยะยาว
2. หนี้สิน คือ พันธะผูกพันที่บุคคลภายนอกได้แก่เจ้าหนี้มีต่อกิจการอันเกิดจากรายการทาง ธุรกิจ การกู้ยืมหรือจากเหตุการณ์อื่นๆ ที่จะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการ ตัวอย่างของหนี้สินของหนี้สิน เช่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้เงินกู้ ตั๋วเงินจ่าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- หนี้สินหมุนเวียน คือ พันธะผูกพันที่ต้องมีการจ่ายชำระคืนแก่เจ้าหนี้ไม่เกิน 1 ปี หรือในรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่นเจ้าหนี้ทางการค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
- หนี้สินระยะยาว คือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระมากกว่า 1 ปี หรือเกินกว่าระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการ เช่น หุ้นกู้ เงินกู้ระยะยาว
3. ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ สิทธิเรียกร้องหรือส่วนได้เสียที่เจ้าของมีอยู่เหนือสินทรัพย์ หลังจากได้หักสิทธิเรียกร้องที่เป็นของเจ้าหนี้ออกไปแล้ว หรือกล่าวได้ว่าคือสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนที่สินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน (สินทรัพย์ – หนี้สิน = ส่วนของผู้ถือหุ้น)
(งบกำไรขาดทุน)
งบ
กำไรขาดทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในงวดระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ๆ
ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือไตรมาส งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย
รายการหลัก 3 รายการ คือ
1) ยอดขายหรือรายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆ ซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงิน และยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้า ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1) รายได้โดยตรง เป็นรายได้ที่สัมพันธ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ของกิจการ
1.2) รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้โดยตรง เช่น เกิดจากการขายสินทรัพย์ออกไป หรือรายได้จากเงินปันผลของบริษัทที่ไปร่วมลงทุนด้วย
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน คือ ต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ใช้ในการดำเนินกาของธุรกิจด้วย
3) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนที่เกิดจากรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย ในระยะรอบบัญชีนั้นๆ
(รายได้ – รายจ่าย = กำไร หรือ ขาดทุน)
1) ยอดขายหรือรายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆ ซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงิน และยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้า ดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกัน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.1) รายได้โดยตรง เป็นรายได้ที่สัมพันธ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ของกิจการ
1.2) รายได้อื่นๆ เป็นรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้โดยตรง เช่น เกิดจากการขายสินทรัพย์ออกไป หรือรายได้จากเงินปันผลของบริษัทที่ไปร่วมลงทุนด้วย
2) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน คือ ต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ใช้ในการดำเนินกาของธุรกิจด้วย
3) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ หมายถึง ส่วนที่เกิดจากรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย ในระยะรอบบัญชีนั้นๆ
(รายได้ – รายจ่าย = กำไร หรือ ขาดทุน)
(งบกระแสเงินสด)
งบ
กระแสเงินสด
หมายถึงงบการเงินที่แสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ
กิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
งบกระแสเงินสดจะแสดงเงินสดที่ได้รับและจ่ายออกไปที่เกิดขึ้นตาม 3 กิจกรรม
คือ
1. กิจกรรมการดำเนินงาน หมายถึง กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากการดำเนินงานหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ ของกิจการและกิจกรรมอื่น ที่ไม่ใช่กิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมการจัดหาเงิน
2. กิจกรรมการลงทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นๆของ กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรือ อุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์
3. กิจกรรมการจัดหาเงิน หมายถึง กระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนของเจ้าของ หรือการกู้ยืมเงิน และกระแสเงินสดที่จ่ายชำระหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน หรือเงินปันผล
1. กิจกรรมการดำเนินงาน หมายถึง กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากการดำเนินงานหลักที่ก่อให้เกิดรายได้ ของกิจการและกิจกรรมอื่น ที่ไม่ใช่กิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมการจัดหาเงิน
2. กิจกรรมการลงทุน หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการซื้อและขายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นๆของ กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรือ อุปกรณ์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนระยะยาว ที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์
3. กิจกรรมการจัดหาเงิน หมายถึง กระแสเงินสดที่ได้รับจากการลงทุนของเจ้าของ หรือการกู้ยืมเงิน และกระแสเงินสดที่จ่ายชำระหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน หรือเงินปันผล
Positioning
หลายคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพอยู่ที่จุดไหน และยังสามารถพัฒนาได้อีกมากน้อยเท่าไหร่ หรือพูดง่ายๆว่ายังรู้จักตัวเองไม่ดีพอ
แล้วจะทำยังไงหล่ะ ถึงจะรู้จักตัวเองดีพอ?
ในมุมมองของผมเอง การที่คุณจะรู้จักตัวเองได้ คุณต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อน
1. คุณมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง (ถนัดด้านไหน ไม่ถนัดอะไร)
2. คุณอยากจะทำอะไร (อะไรที่ทำแล้วจะมีความสุข อะไรที่คุณยินดีที่จะพัฒนาหรือเรียนรู้เพิ่มเติม อะไรที่คุณจะเสียดายหรือเสียใจมากถ้าชีวิตนี้คุณไม่ได้ทำ)
3. ตอนนี้คุณกำลังทำอะไรอยู่ (สิ่งที่ทำอยู่นี้ถูกต้องหรือยัง ดีที่สุดหรือยัง ใช่สิ่งที่เหมาะสมมั้ย ใช่สิ่งที่คุณต้องการมั้ย)
สุดท้ายเมื่อคุณลอง list คำตอบออกมา ผมว่าน่าจะช่วยทำให้คุณมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ว่าจริงๆแล้ว ชีวิตของคุณอยู่ตรงจุดไหน และสิ่งที่คุณอยากจะทำ มันมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือต้องใช้อะไรช่วยบ้างถึงจะทำให้ได้ตามเป้าหมายนั้นๆ
ถืิเป็นการวางแผนหรือ set up แผนที่การเดินทางสู่เป้าหมายได้ดี เพราะคุณจะมองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ว่าหากคุณอยากจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ตอนนี้คุณพร้อมหรือยัง มีกี่วิธี มีกี่ตัวช่วย
สุดท้ายเมื่อวางแผนทุกอย่างได้ชัดเจนแล้ว คุณจะทำหรือไม่ทำตามฝัน มันก็ขึ้นอยู่ที่ใจคุณเอง ว่าจะกล้าออกstartหรือยัง?
เอ้า!!! ลองดู ลุยเลย
- บ้าหุ้น -
Subscribe to:
Posts (Atom)